มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก.17025 (ISO/IEC 17025) เป็นข้อกำหนดทั่วไปว่าด้วยความสามารถห้องปฏิบัติการในการดำเนินการทดสอบและ/ หรือสอบเทียบ ซึ่งจะประกอบด้วยข้อกำหนดด้านการบริหารงานคุณภาพและ ข้อกำหนดด้านวิชาการ โดยมาตรฐานนี้สามารถที่จะนำมาใช้ได้กับทุกองค์กรที่มี การดำเนินกิจกรรมการทดสอบและหรือสอบเทียบ
มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก.17025 ที่กำหนด มีวัตถุประสงค์เพื่อ ใช้เป็นเกณฑ์สำหรับห้องปฏิบัติการทดสอบและห้องปฏิบัติการสอบเทียบ ที่ต้องการแสดงให้เห็นว่าห้องปฏิบัติการมีการดำเนินงานด้านระบบคุณภาพ มีความสามารถทางวิชาการ ผลการทดสอบหรือสอบเทียบที่ออกโดยห้อง ปฏิบัติการเป็นที่เชื่อถือได้ว่าถูกต้องตามหลักวิชาการ
ใช้เป็นเกณฑ์สำหรับการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบและสอบเทียบของหน่วยรับรอง
ใช้ในการยืนยันและยอมรับความสามารถของห้องปฏิบัติการโดยผู้ใช้บริการห้องปฏิบัติการหรือ องค์กรที่มีอำนาจตามกฏหมาย
ห้องปฏิบัติการทดสอบและหรือสอบเทียบที่เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก.17025(ISO/IEC 17025) ถือว่าการดำเนินการด้านระบบ คุณภาพในกิจกรรมการทดสอบ/สอบเทียบเป็นไปตามอนุกรมมาตรฐาน ISO 9000
กระบวนการให้การรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการ
กระบวนการให้การรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการของหน่วยรับรอง ห้องปฏิบัติการของ สมอ. มีดังนี้
การเตรียมการเพื่อขอรับการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการ
ขั้นตอนการเตรียมการเพื่อขอรับการรับรองความสามารถหอ้งปฏิบัติการ การเตรียมการเพื่อขอรับการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการมี 9 ขั้นตอน ดังนี้
ประโยชน์ที่ได้รับ
การนำมาตรฐาน มอก.17025 มาใช้และการได้รับการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการให้ประโยชน์หลายประการ ดังนี้
การยอมรับความสามารถในการทดสอบ (A recognition of testing competence)
การรับรองห้องปฏิบัติการเป็นการให้การยอมรับอย่างเป็นทางการแก่ห้องปฏิบัติการที่มีความสามารถ ดังนั้นจึงเป็นวิธีการที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่กำลังแสวงหาและเลือกบริการทดสอบ/วัด/สอบเทียบที่น่าเชื่อถือ เพื่อรักษาไว้ซึ่งระบบการยอมรับ ห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองจะถูกตรวจติดตามเป็นระยะ ๆ โดยหน่วยรับรองห้องปฏิบัติการ เพื่อให้มั่นใจว่าห้องปฏิบัติการยังปฏิบัติตามข้อกำหนดและวิธีปฏิบัติงานมาตรฐาน ห้องปฏิบัติการอาจต้องเข้าร่วมโครงการทดสอบความชำนาญที่เกี่ยวข้องก่อนการตรวจประเมินใหม่ เพื่อแสดงขีดความสามารถด้านวิชาการอีกทางหนึ่ง
ห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองมักจะออกรายงานการทดสอบหรือใบรับรองการสอบเทียบที่แสดงตราสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายที่บ่งชี้ถึงการได้รับการรับรอง ลูกค้าควรตรวจสอบกับห้องปฏิบัติการถึงประเภทการทดสอบหรือการวัดที่ได้รับการรับรอง รวมทั้งค่าพิสัยและค่าความไม่แน่นอน ข้อมูลเหล่านี้จะระบุไว้ในขอบข่ายของการรับรองที่ออกโดยหน่วยรับรองห้องปฏิบัติการ คำบรรยายในขอบข่ายของการรับรองช่วยลูกค้าเสาะหาห้องปฏิบัติการที่เหมาะสม
ข้อได้เปรียบทางการตลาด (A marketing advantage)
การรับรองเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่มีประสิทธิผลสำหรับหน่วยงานทดสอบ/สอบเทียบ/การวัดและใช้เป็นใบเบิกทางเพื่อยื่นข้อเสนอต่อลูกค้าที่ต้องการใช้บริการจากห้องปฏิบัติการที่ถูกทวนสอบอย่างอิสระ
การรับรองห้องปฏิบัติการได้รับการยอมรับอย่างสูงทั้งในระดับชาติและระหว่างประเทศ ในฐานะตัวบ่งชี้ความสามารถทางวิชาการอุตสาหกรรมจำนวนมาก เช่น อุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้างจะกำหนดให้ผู้ให้บริการทดสอบจะต้องได้รับการรับรอง
ไม่เหมือนกับการรับรองตามมาตรฐาน ISO 9001 การรับรองห้องปฏิบัติการใช้เกณฑ์และขั้นตอนที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยเฉพาะสำหรับตัดสินความสามารถด้านวิชาการ เพื่อเป็นหลักประกันให้กับลูกค้าว่าข้อมูลการทดสอบ/สอบเทียบ/การวัด จากห้องปฏิบัติการหรือบริการตรวจสอบ (inspection service) มีความถูกต้องและเชื่อถือได้
หน่วยรับรองห้องปฏิบัติการจำนวนมากจะเผยแพร่บัญชีรายชื่อห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรอง รวมทั้งข้อมูลเพื่อการติดต่อและข้อมูลเกี่ยวกับความสามารถในการทดสอบ นี่เป็นอีกวิธีหนึ่งในการส่งเสริมบริการของห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองให้กับลูกค้าเป้าหมาย
โดยข้อตกลงระหว่างประเทศ ห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองจะได้รับการยอมรับระหว่าง ประเทศ ซึ่งทำ ให้ข้อมูลจากห้องปฏิบัติการได้รับการยอมรับโดยทันทีมากขึ้นในตลาดต่างประเทศ การยอม รับนี้ช่วยลดค่าใช้จ่ายสำ หรับผู้ผลิตและผู้ส่งออกที่ใช้บริการทดสอบผลิตภัณฑ์หรือวัสดุจากห้องปฏิบัติการ ที่ได้รับการรับรอง เนื่องจากได้ลดหรือยกเว้นความต้องการทดสอบซํ้าในอีกประเทศหนึ่ง
เกณฑ์เป้าหมายการปฏิบัติงาน (A benchmark for performance)
การรับรองห้องปฏิบัติการให้ประโยชน์แก่ห้องปฏิบัติการโดยช่วยให้ห้องปฏิบัติการสามารถ พิจารณาตนเองว่าได้ปฏิบัติงานอย่างถูกต้องและเป็นไปตามมาตรฐานที่เหมาะสมหรือไม่ และยังเป็นเกณฑ์ เป้าหมาย (benchmark) ในการรักษาขีดความสามารถ ห้องปฏิบัติการจำนวนมากทำ งานอย่างโดดเดี่ยวจาก ห้องปฏิบัติการอื่นและแทบจะไม่เคยถูกประเมินทางวิชาการอย่างเป็นอิสระในฐานะตัววัดผลการปฏิบัติงาน การตรวจประเมินเป็นประจำ โดยหน่วยรับรองห้องปฏิบัติการ เป็นการตรวจสอบทุกด้านของการทำ งานที่ เกี่ยวข้องกับการผลิตข้อมูลที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือ ประเด็นเพื่อการปรับปรุงการทำงานจะถูกชี้และอภิปราย และมีการจัดทำ รายงานโดยละเอียดเมื่อสิ้นสุดกระบวนการตรวจประเมินในแต่ละครั้ง หากจำเป็น การ ปฏิบัติการแก้ไขจะถูกเฝ้าระวังโดยหน่วยรับรองห้องปฏิบัติการ ดังนั้นห้องปฏิบัติการสามารถมั่นใจว่าได้ ดำเนินการแก้ไขอย่างเหมาะสม
เพิ่มเติมจากบริการทดสอบและสอบเทียบเชิงพาณิชย์องค์กรที่ทำการผลิตอาจใช้การรับรอง ห้องปฏิบัติการเพื่อทำให้เกิดความมั่นใจในการทดสอบผลิตภัณฑ์ของตนโดยห้องปฏิบัติการภายใน (inhouse laboratory) ว่าได้ดำเนินการอย่างถูกต้อง
ทางเลือกระหว่างการรับรองห้องปฏิบัติการและการรับรองตามมาตรฐาน ISO 9001
การรับรองห้องปฏิบัติการใช้เกณฑ์และขั้นตอนที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยเฉพาะสำหรับตัดสินความ สามารถด้านวิชาการ ผู้ประเมินวิชาการจะตรวจประเมินปัจจัยทั้งหมดในห้องปฏิบัติการอย่างถี่ถ้วน ที่มีผล ต่อการผลิตข้อมูลการทดสอบ/สอบเทียบ เกณฑ์ประเมินจะเป็นไปตามมาตรฐานระหว่างประเทศที่เรียกว่า ISO/IEC 17025 (ซึ่งก่อนหน้าใช้มาตรฐาน ISO/IEC Guide 25) ซึ่งใช้ประเมินความสามารถห้องปฏิบัติการ ทั่วโลกหน่วยรับรองห้องปฏิบัติการใช้มาตรฐานเฉพาะในการประเมินปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสามารถ ห้องปฏิบัติการ ซึ่งรวมถึง ♦ ความสามารถทางวิชาการของเจ้าหน้าที่ ♦ ความเหมาะสมและผ่านการตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีการทดสอบ ♦ ความสามารถในการสอบกลับได้ของการวัดและการสอบเทียบไปยังมาตรฐานระดับชาติ ♦ ความเหมาะสมของเครื่องมือทดสอบ การสอบเทียบ และการบำ รุงรักษา ♦ ภาวะแวดล้อมของการทดสอบ/สอบเทียบ ♦ การสุ่ม การจัดการและการขนส่งตัวอย่าง ♦ การประกันคุณภาพของข้อมูลที่ได้จากการทดสอบ/สอบเทียบ
โดยกระบวนการนี้ การรับรองห้องปฏิบัติการมุ่งให้หลักประกันแก่ห้องปฏิบัติการหรือลูกค้า ของห้องปฏิบัติการว่าข้อมูลการทดสอบ/สอบเทียบจากห้องปฏิบัติการมีความถูกต้องและเชื่อถือได้
มาตรฐาน ISO 9001 ได้มีการใช้อย่างกว้างขวางในองค์กรการผลิตและการบริการที่จะ ประเมินระบบการจัดการด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์หรือบริการ การรับรองระบบการบริหารคุณภาพของ องค์กรตามมาตรฐาน ISO 9001 มุ่งเน้นไปที่ความสามารถของระบบการจัดการให้เป็นไปตามมาตรฐาน นี้ ถึงแม้ห้องปฏิบัติการจะได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ISO 9001 แต่การรับรองนี้มิได้ประเมินความ สามารถด้านวิชาการของห้องปฏิบัติการ
การยอมรับระหว่างประเทศสำหรับห้องปฏิบัติการ
ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกจะมีหน่วยงานอย่างน้อยหนึ่งแห่งที่รับผิดชอบในการให้การรับรอง ห้องปฏิบัติการในประเทศของตน หน่วยรับรองห้องปฏิบัติการส่วนใหญ่ใช้มาตรฐาน ISO/IEC 17025 เป็น พื้นฐานในการรับรองห้องปฏิบัติการทดสอบและสอบเทียบในประเทศของตน ทำ ให้เกิดการใช้มาตรฐาน เดียวกันในการประเมินความสามารถห้องปฏิบัติการ นอกจากนี้ยังสนับสนุนให้ห้องปฏิบัติการต่าง ๆ ใช้วิธี ทดสอบและวิธีวัดที่เป็นที่ยอมรับระหว่างประเทศให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ความเป็นเอกภาพของกระบวนการเดียวกันเช่นนี้ ทำ ให้ประเทศต่าง ๆ สามารถร่วมกันสร้าง ข้อตกลงระหว่างประเทศบนพื้นฐานการประเมินเพื่อการยอมรับร่วม และการยอมรับระบบการรับรอง ห้องปฏิบัติการซึ่งกันและกัน ซึ่งข้อตกลงระหว่างประเทศนี้เรียกว่า ข้อตกลงว่าด้วยการยอมรับร่วม (Mutual Recognition Arrangements : MRAs) ซึ่งทำ ให้ผลการทดสอบ/สอบเทียบได้รับการยอมรับระหว่างประเทศ โดยข้อตกลงนี้ผู้ร่วมลงนามจะยอมรับห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองจากเพื่อนสมาชิก โดยถือเสมือนว่า ห้องปฏิบัติการนั้นได้รับการรับรองจากตนเอง
ปัจจุบันกว่า 40 หน่วยรับรองห้องปฏิบัติการได้ลงนามในการยอมรับร่วมเรียกว่า ILAC Mutual Recognition Arrangement และบัญชีรายชื่อหน่วยรับรองห้องปฏิบัติการที่เป็นสมาชิกสามารถค้นหา ได้ที่ www.ilac.org
ในการพิจารณาหาค่าความไม่แน่นอนในกระบวนการสอบเทียบ สิ่งหนึ่งที่เป็นปัจจัยสำ คัญคือ แหล่งกำ เนิดค่าความไม่แน่นอนของระบบการวัด การที่จะได้มาซึ่งแหล่งกำ เนิดค่าความไม่แน่นอนของ ระบบการวัดนั้น จำ เป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการวิเคราะห์ระบบการวัดทั้งหมด เพื่อเก็บรายละเอียดของสิ่งที่จะ ทำ ให้เกิดความไม่แน่นอนในกระบวนการวัด ทั้งที่มองเห็นและมองไม่เห็น ซึ่งอาจได้มาจากเอกสารอ้างอิง ของเครื่องมือ หรือได้มาจากมาตรฐานการถ่ายโอน
จะเห็นว่าผู้ที่จะวิเคราะห์ระบบการวัดได้นั้น จำ เป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีประสบการณ์ใน กระบวนการวัดนั้น ๆ เป็นอย่างดี เพื่อที่จะทราบรายละเอียดของความไม่แน่นอนที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอด ที่ทำ การวัด เพราะผู้ที่ปฏิบัติงานนั้นย่อมทราบดีถึงสภาวะแวดล้อมขณะปฏิบัติงานว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่จะ ทำ ให้เกิดความไม่แน่นอนขึ้นได้
เพื่อให้เข้าถึงที่มาของแหล่งกำ เนิดความไม่แน่นอน ของกระบวนการสอบเทียบเครื่องมือวัด ขอยกตัวอย่าง ดังต่อไปนี้
แหล่งกำเนิดความไม่แน่นอนของการสอบเทียบมวล
การสอบเทียบตุ้มนํ้าหนักอ้างอิง
การสอบเทียบตุ้มนํ้าหนักอ้างอิงนั้น จะมีค่าความคลาดเคลื่อนแฝงอยู่ในค่าความไม่ แน่นอนของการสอบเทียบ ซึ่งแสดงในเอกสารรับรองการสอบเทียบ นอกจากนี้ การ สอบเทียบตุ้มนํ้าหนักอ้างอิงนั้นจะต้องมีการสอบกลับได้ถึงมาตรฐานในระดับชาติ หรืออาจ ถึงมาตรฐานระหว่างประเทศขึ้นกับว่าตุ้มนํ้าหนักอ้างอิงนั้นอยู่ในมาตรฐานระดับใดด้วย
ความมีเสถียรภาพของตุ้มนํ้าหนักอ้างอิง
สิ่งที่จำเป็นอันหนึ่ง คือการเปลี่ยนแปลงมวลของตุ้มนํ้าหนักอ้างอิงอย่างสมํ่าเสมอ จากที่มีการสอบเทียบครั้งหลังสุด สิ่งเหล่านี้สามารถนำ มาเป็นข้อมูลในการประมาณการ การ เปลี่ยนแปลงมวลของตุ้มนํ้าหนักอ้างอิงได้จากการที่มีการสอบเทียบตุ้มนํ้าหนักอ้างอิงอย่างต่อ เนื่อง ถ้าที่ผ่านมามิได้มีการบันทึก หรือไม่สามารถค้นหาประวัติการสอบเทียบของตุ้มนํ้าหนัก มาตรฐานได้ ก็อาจประมาณการได้จากการสังเกตการเปลี่ยนแปลงมวลอันเนื่องมาจากค่าความ ไม่แน่นอนระหว่างการสอบเทียบ นอกจากนี้ความมีเสถียรภาพของตุ้มนํ้าหนักอาจขึ้นกับ วัสดุและคุณภาพการผลิต (ได้แก่ ความไม่พอดีของเกลียว) ความแนบสนิทของผิว การ เปลี่ยนแปลงที่ไม่เสถียรของวัสดุที่ใช้ การสึกหรอและความเสียหายในทางกายภาพ ความ เสียหายอันเนื่องมาจากบรรยากาศ สำ หรับความมีเสถียรภาพของรูปทรงที่นำ มาใช้นั้น ถือ เป็นสิ่งที่จะต้องนำ กลับมาพิจารณา ถ้าการใช้งานหรือสภาวะแวดล้อมของตุ้มนํ้าหนักเปลี่ยนไป การสอบเทียบตามกำ หนดระยะเวลาอย่างสมํ่าเสมอของตุ้มนํ้าหนักอ้างอิงถือเป็นสิ่ง สำ คัญต่อความมีเสถียรภาพของตุ้มนํ้าหนักนั้น ๆ
เครื่องชั่งและขั้นตอนการชั่ง
การใช้เครื่องชั่งในการสอบเทียบจะต้องมีการประเมินองค์ประกอบต่าง ๆ เพื่อช่วยให้ ทราบว่าเกิดความไม่แน่นอนอะไรบ้างตลอดกระบวนการชั่ง การประเมินจำ เป็นอย่างยิ่งที่จะ ต้องคลอบคลุมถึงคุณสมบัติต่าง ๆ (ที่เห็นว่าเป็นสาเหตุของการทำ ให้เกิดความไม่แน่นอนใน ขั้นตอนการชั่ง) ของเครื่องชั่ง เพราะถือเป็นสิ่งสำ คัญต่อขั้นตอนการชั่ง ตัวอย่างเช่น ความไม่ แน่นอนเนื่องมาจากความยาวคาน (สมมุติว่ามีค่าคงที่) ของเครื่องชั่งแบบคานชั่ง (Equal Arm Balance) อาจไม่ต้องประเมินหากวิธีการที่ใช้เป็นวิธีการสอบเทียบแบบแทนที่ (Borda’s Method) อย่างไรก็ตาม ในการประเมินค่าความไม่แน่นอนควรจะพิจารณาองค์ประกอบเหล่านี้
- ความสามารถในการทำซํ้า (Repeatability)
- ลักษณะเชิงเส้นภายในระยะที่ใช้ (Linearity)
- ความสามารถในการอ่าน (Readability)
- การจัดวางกลุ่มตุ้มนํ้าหนักที่ถูกวางบนถาดในขณะชั่งไม่รวมอยู่ที่จุดศูนย์กลาง
- ผลกระทบจากสนามแม่เหล็ก (อาจมาจากตุ้มนํ้าหนักเอง หรือผลกระทบจาก สนามแม่เหล็กของมอเตอร์เครื่องชั่ง ในกรณีที่เป็นตุ้มนํ้าหนักที่ทำ จากเหล็ก)
- ผลกระทบจากอุณหภูมิ เช่น ความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของตุ้มนํ้าหนักและ เครื่องชั่ง
- ความไม่แน่นอนเนื่องจากความยาวคาน
ผลกระทบจากแรงลอยตัวของอากาศ (Air Buoyancy Effects)
การแก้ไขในเรื่องแรงลอยตัวของอากาศเพื่อความถูกต้องแม่นยำ สามารถกระทำ ได้ขึ้น กับว่าทราบความหนาแน่นของตุ้มนํ้าหนักและความหนาแน่นของอากาศดีเพียงใด อย่างไรก็ดี ความหนาแน่นของตุ้มนํ้าหนัก ห้องปฏิบัติการเพียงบางแห่งเท่านั้นที่สามารถหาค่าได้ แต่ส่วน ใหญ่จะใช้เพียงการสมมุติคาดคะเนเอาเท่านั้น ส่วนความหนาแน่นของอากาศสามารถคำ นวณ จากสมการทางคณิตศาสตร์ หลังจากได้วัดอุณหภูมิของอากาศ ความดันบรรยากาศ และ ความชื้นสัมพัทธ์แล้ว หากต้องการความถูกต้องในระดับสูงที่สุดเท่าที่จะทำได้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องวัดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศด้วย
นอกจากผลกระทบจากแรงลอยตัวของอากาศแล้ว สภาวะแวดล้อมขณะทำ การสอบ เทียบอาจทำ ให้เกิดความไม่แน่นอน (ความไม่แน่นอนในการชั่ง) ขึ้นได้ เช่น การเปลี่ยนแปลง อุณหภูมิสามารถที่จะไปเพิ่มปริมาณกระแสไฟฟ้า (ในกรณีเครื่องชั่งไฟฟ้าแบบคาน (Balance) ได้ ซึ่งมีอิทธิพลต่อการอ่านค่า แรงลมจากเครื่องปรับอากาศ การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่าง รวดเร็วในห้องปฏิบัติการสามารถสร้างผลกระทบต่อกระบวนการชั่งได้ การเปลี่ยนแปลง ความชื้นในบรรยากาศของห้องปฏิบัติการ สามารถทำ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมวลของตุ้ม นํ้าหนักในระยะเวลาอันสั้นได้ ระดับความชื้นในบรรยากาศที่ตํ่าสามารถทำ ให้เกิดไฟฟ้า สถิตย์ใน(เครื่องชั่งบางชนิด ความสกปรกเนื่องมาจากฝุ่นทำ ให้มีความไม่แน่นอนในการสอบ เทียบ การเคลื่อนไหวของตุ้มนํ้าหนักขณะสอบเทียบเป็นสาเหตุการรบกวนเฉพาะที่
แหล่งกำเนิดความไม่แน่นอนการสอบเทียบทางมิติ
- มาตรฐานอ้างอิง และเครื่องมือ
ค่าความไม่แน่นอนสามารถหาได้จากมาตรฐานอ้างอิง และเครื่องมือวัดสามารถ กำ หนดได้จากการทำ การวัดที่ผ่านมา
- ผลกระทบจากความร้อน (Thermal Effects)
ค่าความไม่แน่นอนจะสัมพันธ์กับความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างเครื่องวัดที่นำ มา สอบเทียบ (Gauge Being Calibrated), มาตรฐานอ้างอิง และเครื่องมือวัดที่ใช้ โดยจะมีค่าเพิ่ม มากยิ่งขึ้นถ้าความยาวเพิ่มมากขึ้น และยังรวมถึงความแตกต่างของวัสดุที่ใช้ผลิตเครื่องวัดที่นำ มาสอบเทียบและมาตรฐานอ้างอิงอีกด้วย มีความเป็นไปได้ที่จะแก้ไขผลกระทบจากอุณหภูมิ ซึ่งจะเป็นส่วนของความไม่แน่นอนที่เป็นผลจากค่าความไม่แน่นอนที่เกิดจากค่าสัมประสิทธิ์ การขยายตัวของวัสดุที่ใช้ผลิต และผลการสอบเทียบเครื่องวัดอุณหภูมิ
- ความกดดันยืดหยุ่น (Elastic Compression)
ค่าความไม่แน่นอนจะสัมพันธ์กับความแตกต่างของความกดดันยืดหยุ่นระหว่างวัสดุ ที่ใช้ผลิตของเครื่องวัดที่นำ มาสอบเทียบ (Gauge Being Calibrated) ขณะทำ การสอบเทียบ และมาตรฐานอ้างอิง สิ่งเหล่านี้มีความหมายมากในการสอบเทียบที่ต้องการความละเอียดสูง มาก ในกรณีนี้รวมถึงความแตกต่างของวัสดุที่นำ มาใช้ด้วย นอกจานี้ยังสัมพันธ์กับแรงของ อุปกรณ์เครื่องมือวัดที่ใช้สอบเทียบ รวมถึงลักษณะของปลายเข็มวัดที่สัมผัสลงบนเครื่องวัดที่ นำ มาสอบเทียบและบนมาตรฐานอ้างอิง ความไม่แน่นอนเนื่องมาจากความกดดันยืดหยุ่นสามารถแก้ไขทางคณิตศาสตร์ได้โดยแบ่งเป็นส่วนของความไม่แน่นอนที่เป็นผลมาจากค่า ความไม่แน่นอนของแรงที่ทำ การวัด และคุณสมบัติของวัสดุที่นำ มาใช้ทำ เครื่องวัด (ที่นำ มา สอบเทียบ)
- ความไม่แน่นอนเนื่องมาจากความไม่ได้ฉาก (Cosine Errors)
ความไม่ได้ฉากใด ๆ ของเครื่องมือวัดที่นำ มาสอบเทียบ และมาตรฐานอ้างอิง ที่เกี่ยว ข้องกับแนวแกนที่ใช้วัดจะสามารถนำ ไปสู่ความไม่แน่นอนของการวัดได้ ความไม่แน่นอนที่ กล่าวถึงบ่อย ๆ นี้ได้แก่ ความไม่แน่นอนเนื่องมาจากความไม่ได้ฉาก ซึ่งสามารถลดความไม่ แน่นอนนี้ลงได้โดยการปรับตำ แหน่งของเครื่องมือวัดที่นำ มาสอบเทียบที่เกี่ยวเนื่องกับแกนที่ วัดเพื่อพิจารณาหาจุดผันแปรที่ให้ได้ค่าสูงสุดและตํ่าสุดที่เหมาะสม ความไม่แน่นอนเล็กน้อย ที่ยังมีผลอยู่ สำ หรับกรณีตัวอย่างคือ การตั้งข้อสันนิษฐานผิดพลาดเกี่ยวกับรูปแบบที่ใช้ สำ หรับจัดวางจุดที่ใช้วัด
- ความไม่แน่นอนเนื่องมาจากรูปทรงเรขาคณิต (Geometric Errors)
ความไม่แน่นอนเนื่องมาจากรูปทรงเรขาคณิตของเครื่องมือวัดที่นำ มาสอบเทียบ มาตรฐานอ้างอิง หรือรูปแบบที่ผิดพลาดของเครื่องมือที่ใช้วัด จะเป็นตัวเพิ่มความไม่แน่นอน สิ่งเหล่านี้จะรวมถึงความไม่แน่นอนเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เกิดจาก ความเรียบหรือความกลมของ ปลายเข็มวัด ความตรง ความเรียบ ความขนาน หรือ ความได้ฉากของผิวที่ใช้เป็นจุดวัด และ ความกลม หรือความเป็นทรงกระบอกของเครื่องมือวัดที่นำ มาสอบเทียบและมาตรฐานอ้างอิง ตัวอย่างความผิดพลาดที่พบบ่อยในกรณีนี้ได้แก่ ความสมบูรณ์ทางรูปทรงเรขาคณิตที่ตั้ง สมมุติฐานผิด ๆ เลือกวิธีการวัดที่ไม่กระชับรัดกุม หรือในกรณีอื่นที่ความผิดพลาดเนื่องมา จากรูปทรงเรขาคณิตมีอยู่ทั่วไปในกรณีเฉพาะ